Accha Fushion India Chiangrai

Accha Fushion India Chiangrai, เมืองเชียงราย ถ.เจ็ดยอด - เมืองเชียงราย

อินเดีย
• เอเชีย

91/100
Give a rating

What's your favorite Accha Fushion India Chiangrai's dish?

Ratings and reviews

91
/100
Based on 507 ratings and reviews
Updated

The menu of Accha Fushion India Chiangrai suggested by Sluurpy users

Ratings of Accha Fushion India Chiangrai

TA

Trip
Last update on 27/02/2020
4,5
183 Reviews
Google
Google
Last update on 14/01/2023
4,5
292 Reviews
Facebook
Facebook
Last update on 14/01/2023
4,5
89 Reviews

W

Wongnai
Last update on 14/01/2023
4,3
6 Reviews

GF

Grabfood
Last update on 28/10/2022
4,7
211 Reviews

FB

Face book
Last update on 29/04/2020
4,9
42 Reviews

Reviews

5
Wisanu Tuntawiroon
+5
เจ้าแห่งเครื่องเทศ… “อาหารมหาภารตะ” ว่าไปแล้วต้นกำเนิดของเครื่องเทศไม่ได้มาจาก “อินเดีย” หรอกครับ รากเหง้าจริงๆของเค้า มาจาก ”มาลูกู” หรือ “หมู่เกาะโมลุกกะ” โดยคำว่า “มาลูกู”(maluku) แปลว่า “เกาะเครื่องเทศ” ซึ่งเป็นจังหวัดหนึ่งของ “อินโดนีเซีย” เพียงแต่ต่อมาขึ้นแผ่นดินใหญ่ที่ชมพูทวีป กลายเป็นวัฒนธรรมอาหารอินเดียที่รู้กันทั่วว่าเป็น “เจ้าแห่งเครื่องเทศ” ด้วยความเชื่อทางศาสนา ทำให้คนอินเดียไม่ทานสัตว์ใหญ่ถึง 81%(ทานได้แค่ ไก่ ไข่ หรือ ปลา) และที่เป็นมังสวิรัติเต็มตัวมากถึง 39%(ทานนมยังไม่ได้ ) พอไม่มีโปรตีนจากเนื้อสัตว์เลยต้องอาศัยรสชาติที่รุนแรงจัดจ้านของเครื่องเทศนานาชนิด เสริมความเร่าร้อนให้บรรดาแกงผักต่างๆและส่งให้เมนูอินเดียเกือบทั้งหมดพึ่งพาเครื่องเทศ หลังจากนั้น ราว 2,000 ปี ที่แล้ว “เครื่องเทศ” ค่อยๆคืบคลานสู่ “ยุโรป” ผ่านทางกรีกเข้า “อาณาจักรโรมัน” มีบันทึกตำราอาหารของโรมันชื่อ “อะพิคิอุส”(Apicious)(ประมาณ 2,300 ปีก่อน) รวบรวมสูตรอาหาร 478 สูตร ซึ่งระบุให้ใช้เครื่องเทศจากต่างแดน ทั้ง พริกไทย ขิง ขมิ้น! ด้วยความที่เครื่องเทศมาจากดินแดนอันห่างไกล(สำหรับโรมัน) เลยถูกเล่าแต่งเติมจนเป็นเรื่องลึกลับ บ้างก็โม้ว่ามัน คือ เศษไม้ที่ร่วงหล่นจากสวรรค์สู่โลกมนุษย์ แล้วตั้งราคาจนสูงลิ่ว* (* เอกสารโรมันฉบับหนึ่งมีบันทึกไว้ว่า “เครื่องเทศของอินเดียดูดเอาความร่ำรวยของเราไปเกือบ 55 ล้าน เซสเตอร์เซส(เหรียญโรมัน) โดยค้ากำไรสูงกว่าต้นทุนถึง 10 เท่าตัว”) หลังจากที่ “กรุงโรม” ล่มสลาย เครื่องเทศก็เลยสูญหายไปจากทวีปยุโรปด้วย จนกระทั่งเกิด “สงครามครูเสด” เป็นโอกาสให้บรรดาอัศวินที่ไปรบแย่ง “กรุงเยรูซาเล็ม”(Kingdom of Heaven) ได้ลิ้มลองรสชาติและความหอมของเครื่องเทศอีกครั้ง จนติดใจกลายเป็นสินค้าหายาก เกิดปรากฏการณ์ “Spice Trade” และกลายเป็นปัจจัยหลักเร่งให้ “โปรตุเกส” พบเส้นทางเดินเรือใหม่อ้อมทวีปแอฟริกาไปอินเดีย เพื่อจะได้ไม่ต้องพึ่งพา “เส้นทางสายไหม” ที่แขกอ๊อตโตมาน(ตุรกี) คุมอยู่ มันสร้างความร่ำรวยให้ “โปรตุเกส” จน อังกฤษ ฮอลันดา ฝรั่งเศส สเปน ทนไม่ไหว เลียนแบบ สร้างกองทัพเรืออันยิ่งใหญ่ สุดท้ายโลกก็เข้าสู่ “ยุคล่าอาณานิคม”(Age of Colonization) เมื่อ “จักรวรรดิ์อังกฤษ” เข้ายึด “ชมพูทวีป” ที่สะสมความมั่งคั่งจากการขายเครื่องเทศจนรวยสุดของโลกในสมัย “ราชวงศ์โมกุล” อังกฤษก็ถือโอกาสกอบโกย(ขโมย)จน “อินเดีย” แทบไม่เหลืออะไร แล้วเอามาสร้างบริษัท “British East India” ให้มีกองทัพ กองทุน ทำสงครามแผ่ขยายไปทั่วโลก กลายเป็นอาณาจักรที่พระอาทิตย์ไม่เคยตกดินในศตวรรษที่ 18 ตอนยึดอินเดียได้นั้นอังกฤษเนรเทศ “ออรังเซป” จักรพรรดิโมกุลองค์สุดท้ายให้ไปอยู่ “พม่า” แลกเอา “พระเจ้าธีบอ”(กับ พระนางศุภยาลัต) แห่งพม่าให้ไปอยู่อินเดีย และ จัดการเอา “ประเทศพม่า” ถวายเป็น “ของขวัญปีใหม่”** ให้ “ราชินีวิคตอเรีย” (** ใครที่เคยมีค่านิยมว่า เป็นอาณานิคมของฝรั่งแล้วจะรุ่งเรืองโชติช่วงชัชวาล ก็ลองคิดดูให้ดีๆ ว่าไทยเราโชคดีแค่ไหนที่รักษาเอกราชได้จนถึงทุกวันนี้ ครับ) เล่ามานาน ขอเข้าเรื่องหน่อยว่า “อาหารอินเดีย” มักจะมีรสชาติจัดจ้านปรุงด้วยสารพัดเครื่องเทศ อย่าง เมล็ดมัสตาร์ดสีดำ ยี่หร่า ขมิ้นชัน ขิง ผักชี กระเทียม กระวาน อบเชย กานพลู หญ้าฝรั่น ลูกจันทร์ หรือแม้กระทั่ง กลีบกุหลาบ มื้อนี้ที่เชียงราย ดันบังเอิญเดินมาเจอร้าน “Accha” พอได้กลิ่นเครื่องเทศหอมฉุย เกิดความเร้าใจทนไม่ไหว ต้องเปิดประตูไม้ลวดลายแบบอินเดียแท้ๆ ก้าวเท้าเข้าร้าน แล้วก็ไม่ผิดหวัง ครับ จานแรกสั่งเป็น “Pani Puri” ซึ่งเป็นของทานเล่นแบบ Stret Food ของอินเดียตอนใต้ โดยเอาลูกพูรี ทอดกรอบๆ กลวงๆ เสริฟพร้อมไส้ต่างๆ อย่าง มันฝรั่งบด หัวหอม ถั่วชิกพี และ ชัทนีย์หลายอย่าง มีน้ำปรุงรสทำจากสะระแหน่ ผักชี และ มะขาม มาทานเล่นลองท้อง ตามด้วย “ไก่ย่างเทนดูรี” กับแป้งนานร้อนๆ จานนี้ยังไงก็ผ่าน ทานร้อนๆ อร่อยแน่นอน เพราะทำไม่ยากนัก ตอนไปอินเดียได้จานนี้หล่ะครับ ที่ทำให้รอดตาย แล้วก็สั่ง “ไก่ย่างติ้กก้า” มาเสริม เนื้อไก่นุ่ม หมักมากำลังพอดี ติแค่ “แกงกระเจี้ยบ” ที่รสชาติยังไม่ประทับใจเท่าไหร่(สู้ “Royal India” ตรงพาหุรัดไม่ได้) สรุปร้านนี้อร่อย ตกแต่งร้านได้บรรยากาศแบบอินเดียหรูหรา สร้างครัวแบบเปิดให้เราชะโงกหน้าดูได้ มั่นใจสะอาดสะอ้านแน่นอน ถ้ามาเชียงรายแนะนำ ครับ! #โนบิตะชวนชิม
4
Jay Sae Lee
+4
ร้านอาหารอินเดียในเชียงรายซึ่งมีสาขาอยู่ที่เชียงใหม่เช่นกันโทรไปสอบถามทางและที่จอดพี่พนักงานแนะนำได้ดีมากสั่งทานอาหารแกงต่างๆรสชาติเข้มข้นจัดและดั้งเดิมแต่ข้อเสียคือปริมาณอาหารที่เสริมมาค่อนข้างน้อยถ้าเทียบกับราคาแต่โดยรวมถ้าอยากลองและเบื่ออาหารเหนือแล้วสามารถมาลองทานอาหารอินเดียที่นี่ได้ครับ
5
Lawitra C
+5
อาหารอินเดียค่ะ และเชฟเป็นคนอินเดีย เมนูมีให้เลือกหลากหลายมาก (ในร้านจะไม่มีเนื้อหมูและเนื้อวัว) ทำให้ใช้เวลาในการเลือกนานทีเดียว สามารถถามพนักงานในร้านได้ค่ะ บริการดีมากค่ะ มีโอกาสลองเนื้อแกะนะคะ นุ่มดี กลิ่นไม่แรง ส่วนตัวคือชอบมากค่ะ แป้งนานจิ้มกับแกง เข้ากันดีมากค่ะ ลองสั่งแกงมาแล้ว 7-8 เมนู โอเคทั้งหมดเลยค่ะ โดยเฉพาะแกงที่มีรสเผ็ดหน่อยๆ หรือจะสั่งแกงคู่กับข้าวสไตล์อินเดีย ก็เข้ากันดี ได้รสสัมผัสไปอีกแบบนะคะ ชามาซาล่า สั่งแบบร้อนและไม่หวาน รสชาติละมุน หอมเครื่องเทศอ่อนๆ ปิดท้ายมื้อนี้ได้ดีเลยค่ะ มาลองกันนะคะ แล้วอาจจะติดใจในอาหารอินเดียค่ะ
5
Theromeo Ln
+5
อาหารดี บรรยากาศโอเคเลย ราคากลางๆ พนักงานบริการดีภาษาเยี่ยมเลยค่ะ
5
Healthy by Sea
+5
อาหารอร่อยมากค่ะ เหมือนได้ไปเที่ยวอินเดีย พนักงานสุภาพน่ารักให้คำแนะนำดีค่ะ ชอบมากค่ะ
4
Nontawat Puengwoot
+4
อร่อยรสชาติเข้มข้นเหมือนที่สาขา กรุงเทพฯเลยครับบริการดีมาก
5
Shukri Zaki
+5
ก่อนหน้านี้ไม่เคยกินอาหารอินเดียครับ พอลองครั้งแรกก็เจอร้านนี้ซึ่งผมประทับใจมากครับ สั่งมาหลายอย่าง อร่อยทุกอย่างครับ แค่ cheese nan อย่างเดียวก็คุ้มค่าที่จะกลับมาอีกแล้วครับ เยี่ยมครับ
5
NG
+5
อาหารอินเดีนต้นตำหรับ ร้านโล่งสบาย อาหารอร่อยอย่างอินเดีย แกงไก่ อร่อยนัวมมากจิ้มกับนาน ชนิดต่างๆ น้ำจิ้มมีหลากหลายสูตรกินตัด้ลีายนกับอาหารได้ดี เวล่สั่งต้องทำคอมบิเนชั่นดีๆ ไม่งั้นรสจะ้หมือนๆกัน กินแล้วตอนจบจะเลี่ยนหน่อย

Timetable

Monday:
11:00 - 15:00
17:00 - 22:00
Tuesday:
11:00 - 15:00
17:00 - 22:00
Wednesday:
11:00 - 15:00
17:00 - 22:00
Thursday:
11:00 - 15:00
17:00 - 22:00
Friday:
11:00 - 15:00
17:00 - 22:00
Saturday:
11:00 - 15:00
17:00 - 22:00
Sunday:
11:00 - 15:00
17:00 - 22:00

Read the reviews on

TA

Trip
Google
Google
Facebook
Facebook

Info

Our aggregate rating, “Sluurpometro”, is 91 based on 507 parameters and reviews

If you need to contact by phone, call the number +66 99 291 1551

MAKE A QUESTION

SUBMIT
1